Today Saturday, 27th April 2024
Churchillmining

Beyond the reel

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อทะเบียนรถ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อทะเบียนรถ

ทุกๆ ปี หลายๆ ท่านที่มีรถก็ต้องคอยวุ่นเกี่ยวกับเรื่องของ “การต่อทะเบียนรถ” ซึ่งมีขั้นตอนหลายๆ แบบเลยหล่ะครับ วันนี้เราจะขอมาแนะนำให้ทุกๆ ท่านมาพบกับการ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อทะเบียนรถ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ความสำคัญของทะเบียนรถ

ทะเบียนรถ หรือ ป้ายทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่ช่วยระบุตัวตนของรถ ซึ่งนอกจากตัวอักษร และตัวเลขบนป้ายทะเบียนแล้ว ยังมีการแบ่งประเภทของรถยนต์ด้วยสีของป้ายทะเบียนอีกด้วย ซึ่งป้ายทะเบียนรถที่ใช้ในประเทศไทย หลักๆ มีทั้งหมด 13 แบบ ได้แก่

1. ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีดำ คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง และรถยนต์ทั่วไป ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด

2. ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคล เช่น รถกระบะ หรือ รถบรรทุกขนาดเล็ก แต่สำหรับรถกระบะบางคันที่เป็นป้ายตัวหนังสือสีดำนั้น หมายความว่า จดทะเบียนเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หากใช้ในการบรรทุกเมื่อไหร่ จะถือว่าผิดกฏหมายทันที

3. ป้ายสีขาว ตัวอักษรสีน้ำเงิน คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งมากกว่า 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้

4. ป้ายประมูลหรือป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นลายกราฟฟิค คือ ป้ายทะเบียนที่มีการประมูลตัวเลขชุดพิเศษ

5. ป้ายสีแดง คือ ป้ายที่ออกให้ชั่วคราว เพื่อบ่งบอกว่ารถยนต์คันนี้ยังไม่ได้การรับรองด้วยการจดทะเบียนตามกฏหมาย ซึ่งรถคันดังกล่าวสามารถใช้งานบนถนนได้ชั่วคราว แต่ต้องอยู่ในข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก

6. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ คือ รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์รับจ้าง ที่สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน เช่น Taxi หรือ มอเตอร์ไซค์วิน

7. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีเขียว คือ รถ 3 ล้อรับจ้าง เช่น รถตุ๊กๆ

8. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีแดง คือ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด

9. ป้ายสีเหลือง ตัวอักษรสีน้ำเงิน คือ รถยนต์เล็ก 4 ล้อรับจ้าง เช่น รถกระป๊อ

10. ป้ายสีเขียว ตัวอักษรสีดำ/สีขาว คือ รถบริการทัศนาจร และรถบริการให้เช่า เช่น รถลิมูซีนสนามบิน

11. ป้ายสีส้ม ตัวอักษรสีดำ คือ รถบรรทุกพ่วง รถแทรกเตอร์ และรถที่ใช้ในทางเกษตรกรรม

12. ป้ายสีขาว (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีดำ คือ รถยนต์ของผู้แทนทางการฑูต จะขึ้นต้นด้วย ท และตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วตามด้วยเลขทะเบียนรถ

13. ป้ายสีฟ้า (ไม่สะท้อนแสง) ตัวหนังสือสีขาว แบ่งได้ 3 หมวดได้แก่
อักษร พ คือ หน่วยงานพิเศษในสถานฑูต
อักษร ก คือ คณะผู้แทนกงศุล
อักษร อ คือ องค์กรระหว่างประเทศ

ต่อทะเบียนรถต้องทำอย่างไรบ้าง?

การต่อทะเบียนหรือการเสียภาษีและตรวจสภาพรถยนต์ มี2 ขั้นตอนหลักๆ คือ

►เตรียมเอกสาร

●สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
●เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
●ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป )
●เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

►นำรถไปตรวจสภาพ (รถที่มีอายุเกิน 7 ปี) และมี พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นเสียภาษีประจำปีได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือจะเป็นช่องทางอื่น ๆ ที่เปิดให้เข้าไปยื่นเสียภาษีได้

หากต่อทะเบียนรถช้าจะเกิดอะไรขึ้น?

การต่อทะเบียนรถ หรือต่อภาษีรถยนต์ ที่หลายคนอาจเรียก ถ้าเราไม่เสียภาษีประจำปี แน่นอนว่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ของเราจะผิดกฎหมายทันที ซึ่งหากนำรถคันดังกล่าวมาวิ่งใช้งานบนท้องถนนแล้วเจ้าหน้าที่ตรวจพบ จะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายระบุไว้ครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “การต่อทะเบียนหรือต่อภาษีรถ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

Jared Frazier

Related Posts